‘ซาอุ’พลิกล็อกช็อกฟุตบอลโลกล้ม’อาร์เจน’2-1

ซาอุดิอาระเบีย ฟุตบอลโลก 2022 เจอผลการแข่งขันสุดช็อกตั้งแต่วันที่3 อาร์เจนฯ 1ในทีมเต็งแชมป์ ยิงนำก่อน แต่กลับ ซาอุดิอาระเบีย 1-2 ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กรุ๊ป ซี ระหว่างทีมอาร์เจนฯ 1 – ทีมซาอุดิอาระเบีย 2 แข่งขันที่สนาม ลูซาอิล ไอโคนิค สเตเดี้ยม

ซาอุดิอาระเบีย

อาร์เจนฯ 1ในทีมเต็งแชมป์ฟุตบอลโลก 2022

นำทีมโดย ลีโอเนล เมสซี่, อังเคล ดิ มาเรีย, เลาตาโร่ มาร์ตีเนซ ได้ลงเล่นเกมแรกของรอบแบ่งกลุ่มพบกับ ซาอุดิอาระเบีย

เปิดฉากมาได้ 2 นาที ฟ้า-ขาว ได้ประเดิมก่อน เลาตาโร่ มาร์ตีเนซ พลิกยิงไม่ได้ ถูกจิ้มออกมาเข้าทาง ลีโอเนล เมสซี่ แปด้วยซ้ายในระยะ 16 หลาเน้นทิศทางแต่ โมฮัมเหม็ด อัล-โอวาอิส พุ่งเซฟได้สวย

ผู้ตัดสิน สลาฟโก้ วินชิช ชาวสโลวีเนีย มาเช็กวีเออาร์ในภายหลัง แล้วให้จุดโทษ อาร์เจนฯ ในนาที 10 จังหวะที่ เลอันโดร ปาเรเดส ถูกโอบโดย ซาอุด อับดูลฮามิด และก็เป็น เมสซี่ สังหารจุดโทษแบบนิ่มๆ เป็นประตู 1-0

นาที 22 อาร์เจนตินา ได้เฮเก้อ เมสซี่ หลุดเดี่ยวไปยิงแต่มีธงล้ำหน้า และในอีก 5 นาทีถัดมา เลาตาโร่ ก็หลุดเดี่ยวไปชิพนิ่มๆ แต่ถูกวีเออาร์ตรวจจับเป็นล้ำหน้าแค่แขน และยังมีอีกครั้งในนาที 35 ที่ เลาตาโร่ หลุดเดี่ยวเข้าไปยิงเสียบตาข่าย แต่คราวนี้ล้ำหน้าเยอะ

ช่วงครึ่งหลัง ซาอุดิอาระเบีย พลิกสถานการณ์จากที่เกือบโดนหลายลูกในครึ่งแรก มาตีเสมอ 1-1 ตั้งแต่นาที48 ซาเลห์ อัล-เชห์รี่ กระชากหนี คริสเตียน โรเมโร่ ขาดวิ่นเข้าเขตโทษด้านซ้ายแถมยังยิงด้วยซ้ายเสียบเสาไกล

เท่านั้นไม่พอ ซาอุดิอาระเบีย พลิกแซง 2-1 ในนาที 53 ซาเลม อัล-ดอว์ซารี่ ตามไปเก็บบอลที่เพื่อนยิงติดบล็อค แล้วพลิกวนเข้าเขตโทษก่อนปั่นเท้าขวาตรงเส้น 18 หลา บอลโค้งเสียบเสาสองหมดจด

จากนั้น อาร์เจนฯ เปลี่ยนตัว 3 คนรวด ฮูเลียน อัลวาเรซ, เอ็นโซ่ เฟร์นานเดซ, ลีซานโดร มาร์ตีเนซ ลงแทน ปาปู โกเมซ, เลอันโดร ปาเรเดส, คริสเตียน โรเมโร่

นาที 63 อาร์เจนตินา น่าตีเสมอได้สุดๆ ในจังหวะยิงที่ ลีซานโดร มาร์ตีเนซ แปไม่เต็มเท้าแต่ไปโดน นิโกลัส ตาเกลียฟิโก้ เปลี่ยนทางเข้ากรอบ แต่ยังมี อัล-โอวาอิส ซูเปอร์เซฟออกหลังไปได้

อาร์เจนฯ มาได้ฟรีคิกหวังผลระยะเกือบๆ 30 หลาในนาที 80 แต่ เมสซี่ ปั่นเท้าซ้ายข้ามคานไปเยอะ

จบเกม อาร์เจนฯ พลิกล็อกแพ้ ซาอุดิอาระเบีย 1-2 นัดแรก ฟุตบอลโลก 2022

อาร์เจนติน่า

รายชื่อนักเตะทั้งสองทีม

อาร์เจนตินา : เอมิเลียโน่ มาร์ตีเนซ – นาอวล โมลีน่า, คริสเตียน โรเมโร่, นิโกลัส โอตาเมนดี้, นิโกลัส ตาเกลียฟีโก้ – โรดรีโก้ เด ปอล, เลอันโดร ปาเรเดส – อังเคล ดิ มาเรีย, ลีโอเนล เมสซี่, อเลฮานโดร ‘ปาปู’ โกเมซ – เลาตาโร่ มาร์ตีเนซ

ซาอุดิอาระเบีย : โมฮัมเหม็ด อัล-โอวาอิส – ซาอุด อับดูลฮามิด, ฮัสซัน อัล-ตัมบัคตี, อาลี อัล-บูไลฮี, ยาสเซอร์ อัล-ชาห์รานี่ – ซาเลห์ อัล-เชห์รี่, โมฮาเหม็ด คานโน่, อับดูเลลลาห์ อัล-มัลคี, ซาเลม อัล-ดอว์ซารี่ – ซัลมาน อัล-ฟาราจ – ฟิราส อัล-บูไรคาน

ซาอุดิอาระเบีย ฟุตบอลทีมชาติ

เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติของซาอุดิอาระเบียในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย มีฉายาคือ อัลศอกรฺ (Al-Saqour) หรือภาษาอังกฤษคือ The Falcons (นกเหยี่ยว) และ อัลอัคฎอร (Al-Akhdar) หรือภาษาอังกฤษคือ The Green ซึ่งมาจากสีประจำทีมคือสีเขียว ซาอุดิอาระเบียได้ลงแข่งขันทั้งในรายการของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย

ซาอุดิอาระเบียเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 1988 และ 1996) และเป็น1ในสองทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุด 6 ครั้ง และพวกเขายังคว้าเหรียญเงินในเอเชียนเกมส์ 1986 ซาอุดิอาระเบียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง และยังเป็นชาติแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในนามทีมชาติชุดใหญ่ โดยเข้าชิงชนะเลิศรายการ คิงฟาฮัด คัพ ใน ค.ศ. 1992 ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ” โดยมีเพียงอีกสองชาติที่ทำสถิติดังกล่าวได้จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 1997 (ซึ่งลงแข่งขันในนามสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในขณะนั้น) และญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2001

ซาอุดิอาระเบียได้ลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1994 โดยเอาชนะเบลเยียม และโมร็อกโกได้ในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะเข้าไปแพ้สวีเดนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ส่งผลให้พวกเขาเป็นทีมจากชาติอาหรับประเทศที่สองที่เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก ต่อจากโมร็อกโกในฟุตบอลโลก 1986 และเป็นหนึ่งในห้าทีมของเอเชียที่ทำได้ (ร่วมกับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และเกาหลีเหนือ)

ซาอุดิอาระเบีย สนามแข่ง

ตั้งแต่อดีต ซาอุดิอาระเบียมักจะลงเล่นที่สนาม คิง ฟาฮัด อินเตอร์เนชันแนล สเตเดียม ตั้งอยู่ในกรุงรียาด เป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่มีหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีฉายาว่า “The Pearl” หรือ ไข่มุก โดยเป็นสยามเหย้าในการแข่งขันรายการสำคัญของทีมชาติซาอุดีอาระเบียทั้งในการแข่งขันระดับภูมิภาครวมถึงฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก

นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ซาอุดิอาระเบียมีการใช้สนามอื่น ๆ มากขึ้น ในฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก พวกเขาลงเล่นที่ สนามปรินซ์ โมฮาเหม็ด บิน ฟาฮัด สเตเดียม ในอัดดัมมาน และในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก พวกเขาใช้สนาม ไฟซาล บิน ฟาฮัด และนับตั้งแต่ทศวรรษ 2010 ซาอุดีอาระเบียลงเล่นที่คิงอับดุลลอห์สปอร์ตซิตี ในรียาด ซึ่งเป็นสนามที่สร้างขึ้นใหม่ความจุกว่า 60,000 ทีนั่ง